ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง
เปิดคดีแอมไซยาไนด์ ฆาตกรรมสยอง 14 ศพ!!
ใช้ไซยาไนด์ฆ่าคนตาย ผิดมาตราไหน?พร้อมแนววินิจฉัยของศาล
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้เรามากับเนื้อหาใหม่ที่ผมจะขอนำคดีที่พึ่งถูกเปิดโปงออกมาได้ไม่นานมาเล่าให้ฟังกันครับ โดยคดีในวันนี้ที่เราจะนำมาเล่าให้ฟังคือ คดีฆาตกรรม 14 ศพ โดยใช้ไซยาไนด์ที่พึ่งเป็นข่าวกระหึ่มไปทั่วประเทศ เราไปดูกันหน่อยว่าคดีนี้มันเป็นยังไง แล้วผู้ต้องหาที่กระทำความผิดจะมีความผิดอย่างไร รวมไปถึงแนวคำวินิจฉัยของศาลของคดีที่คล้ายๆ กันแบบนี้ ศาลมองว่ายังไง ถ้าพร้อมแล้ว เราไปดูกันเลยครับ
คดีนี้ เริ่มจากการที่ “ก้อย” อายุ 32 ปี ท้าวแชร์สาว จังหวัดกาญจนบุรี ที่เป็นลมหมดสติ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ขณะกำลังเดินลงไปบริเวณศาลาท่าน้ำแห่งหนึ่งใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา โดยคดีนี้เกือบจะกลายเป็นคดีการเสียชีวิตจากสาเหตุธรรมชาติ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมเลย
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมาแม่และพี่สาวของ “ก้อย” ติดใจการเสียชีวิตของก้อย ไม่เชื่อว่าอยู่ดีๆ ก้อยจะเสียชีวิตทันทีได้ในระหว่างไปทำบุญปล่อยปลากับเพื่อนที่ศาลาริมท่าน้ำ แม่และพี่สาวของก้อยจึงได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงผู้บัญชาการสอบสวนกลาง เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้กับก้อยผู้ตาย โดยทั้งสองคนเชื่อว่า น่าจะเป็นการฆาตกรรม “แอม” อดีตภรรยานายตำรวจระดับรองผู้กำกับการในพื้นที่ จ.ราชบุรี มีส่วนเกี่ยวพันกับการเสียชีวิตของก้อยในครั้งนี้
ต่อมาแพทย์ได้ทำการผ่าพิสูจน์และเก็บตัวอย่างเลือดจากศพของก้อยไปตรวจอย่างละเอียด และทางโรงพยาบาลราชบุรี ได้ส่งตัวอย่างเลือดที่เก็บจากร่างผู้เสียชีวิต ตั้งแต่วันเกิดเหตุพร้อมผลชันสูตรของแพทย์ ส่งมาให้แพทย์นิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ เบื้องต้นพบว่าในเลือดมี “สารกลุ่มไซยาไนด์” ซึ่งสารดังกล่าวไม่ได้เป็นสารที่ใช้ทางการแพทย์ และไม่ควรจะพบในคน เนื่องจากเป็นสารอันตรายต่อชีวิต
เอาเป็นว่าประมาณนี้ก่อนดีกว่าครับ ไม่งั้นทุกคนจะได้อ่านกันแบบตาแฉะแน่ๆ เพราะหลังจากนั้นตำรวจก็เริ่มสืบสวนไปเรื่อยๆ ซึ่งก็พบผู้เสียชีวิตที่มีความเชื่อมโยงกับแอมมากขึ้น มีผู้เสียหายที่เป็นญาติผู้ตายออกมาเปิดเผยมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นคดีใหญ่คดีดังในวันนี้ แต่ตามกฎหมายอาญามีหลักที่ว่า บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดใช่ไหมครับ เพราะงั้นเอาเป็นว่า ผมสมมตินะครับ ถ้าแอมฆ่าก้อยและศพอื่นๆ โดยใช้ไซยาไนด์ซึ่งเป็นสารเคมีที่อันตรายต่อชีวิตในการฆ่า แอมจะผิดฐานไหนระหว่าง ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามปอ. มาตรา 288 หรือฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามปอ. มาตรา 289 (4)
ในเรื่องนี้การใช้ไซยาไนด์ฆ่าผู้อื่นก็คือการฆ่าผู้อื่นโดยใช้ยาพิษ ซึ่งตามแนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ใกล้เคียงกันก็คือ ฎ.2832/2538 ที่มีข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้นำน้ำส้มยี่ห้อซันโตรี่จำนวน 6 ขวด ไปถวายผู้เสียหาย (พระ) เมื่อผู้เสียหายแบ่งให้ผู้ตายดื่ม 1 ขวด ปรากฏว่าหลังจากผู้ตายดื่มน้ำส้มที่จำเลยนำไปถวายแล้วได้ถึงแก่ความตาย เนื่องจากในน้ำส้มดังกล่าวมียาฆ่าแมลงซึ่งเป็นสารพิษเจือปนอยู่ โดยจำเลยได้ให้การยอมรับในชั้นพนักงานสอบสวนและเล่ารายละเอียดการนำยาพิษมาผสมได้สอดคล้องกัน ศาลจึงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้ใส่ยาพิษลงในน้ำ เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
จะเห็นได้ว่า การใช้ยาพิษฆ่าผู้อื่นจะต้องมีการเตรียมการ คิดไตร่ตรองทบทวนแล้ว แล้วจึงลงมือ ไม่ได้ปุบปับแล้วทำ ต้องมีการหายาพิษหรือถ้าเป็นเคสวันนี้ก็คือต้องหาไซยาไนด์ก่อน แล้วจึงผสมอะไรก็ตามให้ผู้ตายกิน ดังนั้นถ้าแอมกระทำความผิดจริง แอมก็จะมีความผิดในฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามปอ. มาตรา 289 (4) ครับ
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่