ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
การออกคำบังคดีนั้น ถ้ามีการยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้น ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา สามารถทำได้ แต่ถ้ายื่นคำแถลงขอออกคำบังคับคดี เกิน 10 ปี มีผลเป็นอย่างไรลองมาศึกษากันดูครับ
#ทนายเล่าเรื่อง คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายสองและนายสามร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่นายหนึ่ง
ในศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่นายสองและนายสามตามคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิหรือไม่ ปรากฏว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยขาดนัดให้นายสองและนายสามแพ้คดี ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของนายหนึ่งตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับอันเป็นขั้นตอนตามกฎหมายก่อน ซึ่งนายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาดำเนินการทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษานั้น ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 บัญญัติระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติในการร้องขอให้บังคับคดีไว้ จะเห็นได้ว่า หาได้บัญญัติให้ต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ ซึ่งสอดคล้องรองรับกับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และมาตรา 231 วรรคหนึ่ง ที่ระบุให้คำพิพากษาผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษาถูกเปลี่ยนแปลง กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี และแม้นายสองและนายสามตามคำพิพากษาจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา นายหนึ่งตามคำพิพากษาก็มีสิทธิขอให้บังคับคดี เว้นแต่นายสองและนายสามตามคำพิพากษาจะยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับและได้รับอนุญาตจากศาล ในกรณีนี้ระยะเวลาบังคับคดีภายในสิบปีต้องเริ่มแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยนายสองและนายสามขาดนัดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2543 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่นายหนึ่งตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่นายสองและนายสามตามคำพิพากษา คือวันที่ 3 เมษายน 2553 ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่นายสองและนายสาม เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่นายสองและนายสามได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่นายสองและนายสามไม่เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2558) คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง นั้น ไม่เป็นเหตุให้ระยะเวลาในการร้องขอให้บังคับคดีตามที่มาตรา 271 บัญญัติไว้เปลี่ยนแปลงไป เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิมานั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของผู้เข้าสวมสิทธิฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
จะเห็นได้ว่า การบังคับคดีในกรณีที่นายสองและนายสามขาดนัด ศาลชั้นต้นไม่อาจออกคำบังคับในวันมีคำพิพากษาได้ จึงเป็นหน้าที่ของนายหนึ่งตามคำพิพากษาจะต้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ออกคำบังคับคดี ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำแถลงของผู้เข้าสวมสิทธิมานั้นโดยศาลฎีกาพิพากษายืน จึงชอบแล้ว เพราะเกินกำหนดระยะเวลาอันจะบังคดีเอากับนายสองและนายสามได้
(อ้างอิง : ฎ.10731/2558)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่