ทนาย หรือ ทนายความ

เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอปัญหากฎหมายหรือคดีความที่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่เมื่อมีคดีขึ้นมาจริงๆ สิ่งที่ควรทำคือ หาทนาย-ทนายความ มาปรึกษาและช่วยคดีความให้กับคุณ
ทนาย-ทนายความคืออะไร หาทนายความได้จากที่ไหน ทนายความมีแบบไหนบ้าง และจำเป็นจริงๆหรือไม่ที่ต้องจ้างทนายความ ที่นี่เรามีคำตอบให้คุณครับ

ทนายหรือทนายความ

ทนายหรือทนายความ คือ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ว่าความ เป็นผู้ที่มีหน้าในการใช้กฎหมายเป็นตัวแทนสำหรับผู้ที่มีคดีไม่ว่าจะเป็นทนายความว่าต่างหรือแก้ต่างให้คู่ความในคดี โดยหากท่านไม่ได้รับความยุติธรรมในทางกฎหมายหรือทางคดีขึ้น ทนายจะมีหน้าที่ว่าความเพื่อว่าต่างแก้ต่างในคดีนั้นๆ ทนายความจะได้รับเงินจากการว่าจ้างจากการว่าความหรือการเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ประเภทของทนายความคือทนายความที่เป็นทนายที่ปรึกษา กับทนายที่รับว่าความ

คุณสมบัติทนายความ

  1. มีสัญชาติไทย
  2. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรืออนุปริญญาทางนิติศาสตร์จากสถาบันที่สภาพทนายความอนุมัติ
  3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดีและไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต
  4. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
  5. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

ประเภททนายความ

  1. ทนายที่ปรึกษาคดี คือการให้คำแนะนำ ปรึกษา วางแผน ค้นคว้าข้อกฎหมาย สรุปข้อมูล ร่างและตรวจสอบแก้ไขสัญญาต่างให้ลูกความก่อนจะทำนิติกรรมหรือธุรกรรมอะไรกับใคร
  2. ทนายว่าความ คือ มีคดีความเกิดขึ้นแล้วในชั้น ดำเนินการ ฟ้องร้อง ต่อสู้คดีแก้ต่าง สืบพยานในศาลรวมถึงเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย
    ซึ่งที่ต่างประเทศเขาจะแยกชัดเจน แต่ในประเทศไทย ทนายความเป็นทั้งที่ปรึกษาและว่าความภายในตัว เนื่องจากในประเทศไทยไม่ได้มีข้อห้ามอะไร ส่วนถ้าแบ่งการประกอบอาชีพก็จะมีทนายหลากหลายประเภทอีก เช่น ทนายขอแรง ทนายอาสา ทนายมืออาชีพ ทนายอิสระ แล้วแต่ความชำนาญแต่ละคน
ทนายบอล

ทำไมต้องมีทนายความ

ตามที่ทราบแล้วว่าทนายความคืออะไร และทนายความมีกี่ประเภทแล้ว อาจจะเกิดคำถามว่าทำไมต้องมีทนายความด้วย ทางเราจะขออธิบายดังนี้

คนทุกคนเกิดมาย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในการใช้ชีวิต โดยการใช้ชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะเจอเรื่องราวในกฎหมาย และมีการโต้เถียงกันในเรื่องต่างๆก็ล้วนแต่มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การที่เด็กได้รับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นได้หรือไม่, คนสามารถทำงานได้ตอนอายุเท่าไรถึงไม่ผิดกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งบางเรื่องราวเราต่างรู้กันได้กันเองไม่ต้องมีทนายก็ได้ แต่บางเรื่องที่ต้องมีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการต่าง เช่น ศาล,ตำรวจ เป็นต้น การที่เราจะเข้าเองนั้นก็ต่างมีผลทางกฎหมาย เช่นนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งที่ตนทำมีผลดีหรือผลเสียกับตนเองในทางกฎหมายอย่างไร ทนายความนั้นคือผู้ที่จบการศึกษาทางด้านกฎหมายและต่างมีประสบการณ์ทางด้านกฎหมายและคดี ย่อมทำให้สิ่งที่ทำให้หรืออย่างน้อยแนะนำท่านไปย่อมต้องรักษาผลประโยชน์แก่ท่าน และไม่ให้ท่านได้รับผลเสียหายทางกฎหมายอย่างแน่นอน

แต่อย่างที่ว่าทนายความ มีมากมายหลากหลาย การจะพิจารณาว่าควรเลือกทนายแบบไหนถึงจะดีสำหรับเรา ผู้เขียนจะขอแนะนำหลักการพอสังเขปไว้ว่า ทนายความแต่ละคนต่างมีความรู้ความสามารถด้วยกันทั้งนั้น การเลือกทนายโดยส่วนมากมักจะเป็นการแนะนำปากต่อปากจาเพื่อนหรือคนรู้จักของตน แต่ถ้าหากไม่มีเพื่อนหรือคนที่ตนรู้จักแนะนำทนายความแล้ว การเลือกควรจะตรวจสอบจากสิ่งที่ทนายความแต่ละท่านมีอาจจะเป็นชื่อเสียงตามหน้าสื่อที่ปรากฏ หรือบทความที่ทางทนายความได้แสดงให้เห็นทางโลกอินเตอร์เน็ต หรืออาจจะเป็นการสอบถามปัญหาเบื้องต้นจากทนายความท่านนั้นๆ หากความรู้สึกของเราคิดว่าน่าจะช่วยเหลือคดีได้ก็ว่าจ้างต่อไป
บทความแนะนำ หาทนาย-จ้างทนาย

ส่วนเรื่องค่าบริการหรือที่เรียกว่าค่าคดีนั้น เป็นการที่ตอบได้ยากว่าควรจะเท่าไรถึงจะเหมาะสม แต่แนะนำว่าปัญหาทางกฎหมาย เป็นปัญหาที่ใช้ความรู้ความสามารถของทนายความอย่างมาก การเรียกค่าทนายความของทนายความจึงเป็นการเรียกจากความยากง่ายของงานที่รับบริการหรือรับว่าความมาแล้วทั้งนั้นครับ ไม่น่าจะมีทนายความใดเรียกค่าทนายความอย่างเกินไป เหมือนตามนโยบายการเรียกค่าวิชาชีพของทางสำนักงานเราที่เรียกให้เหมาะสมกับความยากง่ายของการบริการหรือคดีที่ท่านต้องการให้ทางสำนักงานเราดูแล

ประเภทบริการของทนายความ

ประเภทที่ 1 ที่ปรึกษากฎหมาย คือการให้ความเห็นและคำแนะนำทางกฎหมายโดยนักกฎหมายหรือทนายความ บริการคือ ปรึกษาทนาย-ที่ปรึกษากฎหมาย
ประเภทที่ 2 ทนายความรับว่าความ คือ การที่ทนายความใช้ความสามารถในการทำคดีหรือถามความพยานที่เบิกความในศาลเพื่อให้คดีเป็นไปตามผลลัพธ์ที่วางไว้ตามแนวทางคดีที่รับทำคดีมา บริการคือ ทนายรับว่าความ-รับว่าความ
ประเภทที่ 3 รับร่างสัญญาทางธุรกิจ คือการที่ทนายความจะให้บริการในการร่างสัญญา ตรวจสัญญา รวมไปถึงการจัดให้มีการลงนาม เพื่ออำนวยความสะดวกของคู่สัญญา บริการคือ รับร่างสัญญา
ประเภทที่ 4 รับจดทะเบียนธุรกิจ คือ บริการที่ทางเรารับดำเนินการในการจดทะเบียนอันเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ ทั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล บริการคือ จดทะเบียนทางธุรกิจ
ประเภทที่ 5 การบริการลูกค้าต่างประเทศ คือการบริการตามประเภทที่ 1 – 4 มาให้บริการแก่ลูกความที่เป็นช่าวต่างชาติที่มาทำธุรกิจหรือใช้ชีวิตในประเทศไทย

ส่วนที่ถามทางเราเป็นทนายเก่งหรือไม่ หรือมีประสบการณ์หรือไม่ พิจารณาได้จาก ทนายเก่งๆ-หาทนายเก่งๆ หรือจาก เกี่ยวกับเรา

ส่วนกังวลว่าทนายจะทำงานเต็มที่หรือไม่ จะทิ้งคดีหรือไม่ ทางสำนักงานเราขอยืนยันว่า “ทนายถ้ารับคดีมาดูแลแล้วจะต้องดำเนินการเต็มที่ไม่สามารถทิ้งคดีได้โดยเฉพาะทนายที่มาจากสำนักงานเรา เพราะมีผลต่อใบอนุญาตว่าความ(ที่ชาวบ้านชอบเรียกกันว่า”บัตรทนาย”) ในคดีมรรยาททนายความของสภาทนายความ”
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่เรื่อง ทนายทิ้งคดี

ช่องทางติดต่อทีมทนาย MKC Legal Office

ช่องทางการติดต่อทั้งทางเว็บไซด์หน้าติดต่อเรา , ทางไลน์ @mkclegal และทางโซเชียลมีเดียในนาม MKC Legal Office 

ทีมงาน MKC Legal แชร์ประสบการณ์ ข้อกฎหมาย ที่เกิดขึ้นจริง อ่านเพิ่มเติมได้แล้วที่ .. ทนายเล่าเรื่อง