ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีที่มีที่ดินสองแปลง
ซึ่งมีข้อเท็จจริงต่างกัน ว่าแปลงไหนสามารถฟ้องขับไล่ได้ครับ
#ทนายเล่าเรื่อง ในวันนี้ผมขอหยิบยกกรณีที่มีที่ดินสองแปลงซึ่งมีข้อเท็จจริงต่างกัน ว่าแปลงไหนสามารถฟ้องขับไล่ได้ครับ แล้วศาลฎีกาท่านจะวินิจฉัยไว้แบบไหน มาดูกันได้ครับ
เรื่องมีอยู่ว่า…นายยมฟ้องขอให้บังคับขับไล่นายหนึ่งและบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 93และ95ฯ นายหนึ่งให้การขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณานายยมถึงแก่ความตายนางพร ทายาทยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่นายหนึ่งและบริวารออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 93 และ 95 ห้ามนายหนึ่งและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องทำประโยชน์ในที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอีกต่อไป และให้นายหนึ่งคืนโฉนดที่ดินทั้งสองแปลง กับให้นายหนึ่งใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โดยกำหนดค่าทนายความ 8,000 บาท นายหนึ่งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของนายหนี่งว่า ในส่วนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 ซึ่งมีชื่อนายยมในคดีนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้น ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติว่า ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 780/2556 หมายเลขแดงที่ 962/2556 ของศาลชั้นต้น ที่นางพรที่ 1 กับพวกรวม 3 คน ฟ้องนายหนึ่งในคดีนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และนางพรกับพวกรวม 3 คน ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยชำระหนี้ให้แก่นายหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว นายหนึ่งจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 คืนให้แก่นายยมในคดีนี้ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่นายหนึ่งยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 ย่อมเป็นการละเมิดต่อนายยมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ นายยมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่นายหนึ่งให้ออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 ได้ ส่วนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 นั้น ข้อเท็จจริงได้ความว่า นายหนึ่งได้รับการยกให้ที่ดินแปลงนี้มาจากนายยมและยังคงเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 ยังเป็นของนายหนึ่ง ประกอบกับทางนำสืบของนายหนึ่ง โดยนางพรไม่ได้โต้แย้งให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า นายยมไม่ยอมไปรับโอนที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 จากนายหนึ่งตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งในการโอนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมคนละครึ่ง กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่านายยมถูกนายหนึ่งโต้แย้งสิทธิในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 จึงไม่อาจฟ้องขับไล่นายหนึ่งออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 ได้ แต่อย่างไรก็ตาม นายยมซึ่งอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ก็ยังคงมีสิทธิบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่นายหนึ่งออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 ด้วยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของนายหนึ่งในส่วนนี้ฟังขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องในส่วนที่ขอให้ขับไล่นายหนึ่งออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ
จะเห็นได้ว่า การฟ้องขับไล่ใครออกจากที่ดินผู้ฟ้องขับไล่ต้องมีความเป็นของมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 93 นายยมยังเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้และเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่นายหนึ่งยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 ย่อมเป็นการละเมิดต่อนายยมในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ นายยมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่นายหนึ่งให้ออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 93 ได้
และที่ดินโฉนดเลขที่ 95 กรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ยังเป็นของนายหนึ่ง จึงไม่ถือว่านายยมถูกโต้สิทธิจึงไม่อาจฟ้องขับไล่นายหนึ่งออกจากที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 95 ได้ นั่นเอง
(อ้างอิง : ฎ.5149/2561)
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่