ทนายรับว่าความ
รับว่าความ
ทนายความที่รับว่าความควรเป็นทนายความที่มีประสบการณ์และมีความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี
สามารถรับบริการ จาก MKC Legal Office
ได้ที่.. ติดต่อทนายรับว่าความ
ทนายรับว่าความ รับว่าความ
ทนายความรับว่าความ คือ การที่ทนายความใช้ความสามารถในการทำคดีหรือถามความพยานที่เบิกความในศาลเพื่อให้คดีเป็นไปตามผลลัพธ์ที่วางไว้ตามแนวทางคดีที่รับทำคดีมา ฉะนั้น ทนายความที่รับว่าความควรเป็นทนายความที่มีประสบการณ์และมีความเฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี เพราะการว่าความบางคดีอาจตัดสินเพียงข้อมูลในเอกสารที่จะพบได้ในขณะว่าความก็เป็นได้
ขั้นตอนการว่าความในคดีแพ่ง
1.ยื่นคำฟ้อง คำให้การ คำร้อง ตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย พยานหลักฐานที่ทำให้ศาลเชื่อ และต้องการเรียกร้องอะไรกัน
2.นัดพร้อม คือการที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมาศาลและอาจมีการตกลงเจรา ไกล่เกลี่ย โดยศาลจะถามคู่ความทั้งสองฝ่ายว่าได้คุยกันหรือยังต้องการตกลงกันก่อนหรือไม่ มีพยานกี่ปาก แนวทางการสืบพยาน
3.นัดไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงกันได้ก็จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือถอนฟ้องทันทีหรือถอนฟ้องในภายหลังตามข้อสัญญา แต่ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ สำนวนคดีก็จะถูกส่งกลับมาที่ห้องพิจารณาเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
4.นัดชี้สองสถาน คือการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีและภาระพิสูจน์หรือหน้าที่นำสืบเพื่อหักล้าง
5.นัดสืบพยาน เป็นการนัดสืบพยานโจทก์,จำเลย เป็นอีกหนึ่งนัดที่สำคัญที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความสามารถของทนายที่รับว่าความในการดำเนินคดีหรือต่อสู้คดีโดยอาศัยข้อเท็จ,ข้อกฎหมาย,การถาม,การซักค้าน ตามที่ได้วางรูปคดีไว้ตั้งแต่ต้น
6.นัดฟังคำพิพากษา โดยศาลจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง และให้เหตุผลประกอบพยานหลักฐานและข้อกฎหมายว่าฝ่ายใดควรชนะคดี
ขั้นตอนการว่าความในคดีอาญา
1.ยื่นคำฟ้อง โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นฟ้องหรือจ้างทนายความ หรือพนักงานอัยการยื่นฟ้องโดยพิจารณาตรวจดูพยานหลักฐานว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และผิดต่อกฎหมายหรือไม่
2.นัดไต่สวนมูลฟ้อง เฉพาะในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบให้ศาลเห็นว่าคดีของตนมีมูลที่ศาลจะรับฟ้องไว้พิจารณา โดยจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าคดีมีมูลจะรับฟ้องและศาลจะออกหมายเรียกให้จำเลยมาสู้คดี ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ได้มีการสอบสวนมาแล้ว ปกติจะไม่มีการไต่สวนมูลฟ้อง พนักงานอัยการเพียงแต่นำตัวจำเลยมาศาลเพื่อยื่นฟ้อง
3.นัดสอบคำให้การจำเลย เมื่อจำเลยมาศาลแล้วศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟัง หรืออาจจะถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร ถ้าจำเลยปฏิเสธก็จะมีการนัดสืบพยานต่อไป
4.นัดตรวจพยานหลักฐาน ในกรณีที่มีพยานหลักฐานมาก หรือว่าคู่ความร้องขอ
5.นัดสืบพยาน โจทก์มีหน้าที่นำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดอย่างไร และจำเลยนำพยานหลักฐานสืบแก้ เมื่อสืบพยานเสร็จศาลจะนัดฟังคำพิพากษาต่อไป
6.นัดฟังคำพิพากษา โดยศาลจะอ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟัง โดยจะตัดสินตามฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ ถ้าผิดจริงตามฟ้องมีอัตราโทษเช่นไร
ที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อท่านว่าจ้างให้ทนายความให้ว่าต่างแก้ต่างแทนในคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา โดยทนายความที่รับว่าความจะจัดทำวางแนวทางคดีเพื่อผลลัพธ์ตามที่ลูกความและทนายความได้ตกลงกัน และทำตามขั้นตอนตามระเบียบศาล โดยทนายความอาจใช้เทคนิคการถามความเพื่อได้ผลลัพธ์นั้นด้วย
ส่วนทนายคืออะไรนั้น ติดตามได้ที่ ทนาย