ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
อยากทำธุรกิจสักอย่าง แต่ต้องมีออฟฟิศ ต้องมีหน้าร้าน แต่ประเด็นหลักเลยคือไม่มีที่ดินที่จะสร้าง จะไปหาซื้อก็แพง แล้วถ้าธุรกิจล้มซื้อที่ดินไปก็จะมีแต่หนี้หรือเปล่า คุณเคยเจอปัญหาแบบนี้กันไหมครับ ถ้าเคย ลองหันมามองเรื่องการเช่าแทนการซื้อไหม แต่อย่าเข้าใจผิดนะครับ ผมไม่ได้จะเสนอที่ดินให้เช่าหรืออะไรนะครับ แต่ผมนำเรื่องสัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการมาแชร์ให้กับทุกคนครับ ใครที่กำลังหาที่ดินเพื่อประกอบกิจการห้ามพลาดเลยครับ!!
ก่อนจะไปรู้จักกับสัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เราจะต้องรู้ก่อนว่าการเช่าที่ดินจะมีอยู่ด้วย 2 ลักษณะ เป็นการเช่าที่ดินระยะสั้นและระยะยาว การเช่าที่ดินระยะสั้นก็คือการเช่าที่ดินที่ตกลงเช่ากันไม่เกิน 3 ปี กลับกันสำหรับระยะยาวก็คือการตกลงเช่ากันเกิน 3 ปีนั่นเองครับ เพราะฉะนั้นเจ้าของกิจการทั้งหลายต้องตัดสินใจให้ดีว่าเราควรเช่าที่ดินแบบไหนครับ เราไปดูทีละแบบกันเลยดีกว่าครับ
สัญญาเช่าที่ดินระยะยาวคือ สัญญาเช่าที่ดินที่มีกำหนดการเช่าหรือระยะเวลาการเช่าเกิน 3 ปีขึ้นไป หรือตลอดอายุผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ซึ่งกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย ถ้าไม่นำไปจดสัญญาไม่เป็นโมฆะนะครับ แต่ในการฟ้องร้องจะฟ้องบังคับได้เพียง 3 ปีเท่านั้น ก็คือเหมือนทำสัญญากันแค่ 3 ปีนั่นเอง ซึ่งหากเป็นธุรกิจใหญ่ๆ สัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการก็มักจะทำเป็นสัญญาเช่าระยะยาวกันครับเพราะมักจะต้องมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อใช้ทำธุรกิจ โดยสัญญาเช่าที่ดินระยะยาวก็แบ่งออกเป็น 2 แบบอีกครับ
1. สัญญาเช่าธรรมดา คือ สัญญาจะมีลักษณะเหมือนสัญญาเช่าทั่วไปเลยครับ ที่ผู้เช่าเสียแค่ค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มอีก โดยผู้เช่าไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าให้แก่ผู้อื่นได้ครับเพราะโดยหลักสัญญาเช่านั้นตัวผู้เช่าเป็นสาระสำคัญในการเช่านั่นเอง และหากมีการฟ้องร้องกันจะต้องฟ้องร้องในระยะเวลาของการเช่าที่กำหนดไว้เท่านั้น
2. สัญญาเช่าต่างตอบแทน คือ สัญญาที่ผู้เช่าจะต้องเสียค่าตอบแทนอื่น ๆ ตามที่ตกลงกับผู้ให้เช่า เป็นการเสียค่าตอบแทนเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าเช่า เช่น เงินกินเปล่า เป็นต้น และผู้เช่าสามารถโอนสัญญาเช่าไปยังทายาทได้ครับ สาระสำคัญไม่ได้เน้นที่ตัวผู้เช่าเหมือนสัญญาเช่าธรรมดานั่นเอง
สัญญาเช่าที่ดินระยะสั้น คือ สัญญาเช่าที่ดินที่มีกำหนดการเช่าหรือระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 3 ปี ซึ่งผู้ให้เช่ากับผู้เช่าสามารถทำสัญญากันเองได้เลย ไม่ต้องมีการนำไปจดทะเบียนครับ แต่ถ้าไม่ทำเป็นสัญญากันไว้ สัญญาเช่าก็ไม่ตกเป็นโมฆะเช่นเดียวกับสัญญาเช่าระยะยาวครับ แต่จะไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้นั่นเอง
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการก็เหมือนกันสัญญาเช่าทั่วไปนี่แหละครับ ผู้เช่าก็ต้องตกลงกับผู้ให้เช่าว่าจะเช่าระยะสั้นหรือระยะยาว จะเช่าเพื่อประกอบกิจการอะไร โดยหากการเช่านั้นเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการแล้ว เราต้องเช็คในสัญญาให้มีการระบุวัตถุประสงค์ของการเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการเข้าไปในสัญญาเช่าด้วยนะครับ โดยในสัญญาเช่าพื้นที่พาณิชย์เพื่อการประกอบธุรกิจควรมีรายละเอียดของที่ดิน ค่าเช่า ระยะเวลาเช่า สิทธิของผู้เช่า หรืออื่นๆ ตามที่ตกลงกันไว้
ถ้ามีการเช่าที่ดินเปล่า ไม่มีสิ่งปลูกสร้างอะไรมาก่อน ถ้าเราจะสร้างอาคารหรือตึกหรือสิ่งปลูกสร้างอะไรจะต้องมีการระบุในสัญญาให้ชัดแจ้งนะครับว่าสิ่งปลูกสร้างจะเป็นของใคร แต่ตามหลักถ้าสร้างโดยสุจริต สิ่งปลูกสร้างก็จะเป็นของผู้ที่สร้างนั่นแหละครับ แต่ในสัญญาส่วนใหญ่ ถ้าเป็นการเช่าระยะยาวก็มักจะมีการตกลงให้สิ่งปลูกสร้างหรืออาคารเป็นของผู้ให้เช่าหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดครับ
ส่วนในฝั่งผู้ให้เช่าถ้าให้เช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก็จะต้องมีการระบุไว้ด้วยนะครับว่าให้ผู้เช่าสามารถใช้พื้นที่ได้แค่ไหน ผู้เช่าจะสามารถต่อเติมอะไรเพิ่มได้หรือไม่ รวมถึงทรัพย์สินอย่างอื่นที่อยู่ในอาคารก็ต้องกำหนดไว้ครับว่าให้ใช้ได้แค่ไหนอย่างไร
จะเห็นว่าสัญญาเช่าที่ดินเพื่อประกอบกิจการอาจจะทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เราจะใช้ประกอบกิจการหรือปัจจัยหลาย ๆ อย่างของกิจการของเรา เพราะฉะนั้นเจ้าของกิจการต้องเลือกดี ๆ นะครับ จะได้ไม่เสียเงินไปแบบเปล่าประโยชน์นะครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีที่ดิน คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีที่ดินหรือ จ้างทนายคดีที่ดิน คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่