สัญญาหย่าโดยความยินยอม

ถ้าสามีภริยาสมัครใจที่หย่าขาดจากกัน
สามารถไปจดทะเบียนหย่าที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ
ถ้ามีการตกลงเป็นพิเศษเรื่องการหย่า
สามารถสลักหลังหลังใบหย่า หรือทำ สัญญาหย่าโดยความยินยอม
เพื่อให้ยึดถือปฏิบัติระหว่างกันได้

สัญญาหย่าโดยความยินยอม

                การหย่าร้าง คือ การกระทำเพื่อสิ้นสุดความสัมพันธ์ทางการสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นการสิ้นสุดของชีวิตคู่ ขาดจากการเป็นสามีภริยากัน เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ หรือเหตุผลอื่น โดยการหย่า สามารถทำได้ 2 กรณี คือ (1) การหย่าโดยความยินยอม หรือการตกลงหย่ากันระหว่างสามีภริยา (2) การฟ้องหย่า โดยคำพิพากษาของศาลมาจดทะเบียนหย่า
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน
มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

การหย่าโดยความยินยอม

              การหย่าโดยความยินยอม คือ การที่สามีภริยาตกลงกันได้และประสงค์ที่จะหย่าขาดจากความเป็นสามีภริยากันด้วยความสมัครใจ แต่ในบางครั้งแม้ทั้งคู่จะมีการสมัครใจในการหย่าแล้วก็ตาม แต่มักจะคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาในภายหลัง จึงต้องกันไว้ดีกว่าแก้ เช่นการสลักหลังหลังใบหย่า แต่ในครั้งบางคู่ก็ต้องการให้มีการทำสัญญาอย่างชัดเจน

การทำสัญญาหย่าโดยความยินยอม

             การทำสัญญาหย่าโดยความยินยอม คือ การร่างหนังสือฉบับหนึ่งเพื่อให้สามีและภริยาที่มีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายหย่าขาดจากการกันด้วยความสมัครใจ โดยมีการเขียนบันทึกข้อตกลงระหว่างทั้งสองฝ่ายว่า ต้องการอะไร เช่น มีบุตรร่วมกันกี่คน , ตกลงให้บุตรอยู่ในอำนาจการปกครองของใคร หรือให้อำนาจดูแลบุตรร่มกัน, ค่าเลี้ยงดูบุตรจ่ายอย่างไร เดือนละเท่าไร จ่ายจนถึงอายุกี่ปี , การแบ่งสินสมรส หรือทรัพย์สินอื่นๆ ให้เป็นของใคร หรือต้องทำให้เรียบร้อยภายในกำหนดตอนไหน หรือข้อตกลงอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย และมีการลงนามในร่างสัญญาหย่าโดยความยินยอม โดยให้ถือว่าบันทึกนี้มีผลบังคับใช้แม้ภายหลังหย่าขาดจากกันแล้ว เพราะส่วนใหญ่มักจะหย่าขาดโดยความสมัครใจ และมีการฟ้องร้องกันในภายหลัง เช่น ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น เพราะถ้ามีสัญญาบังคับแล้วถ้ามีปัญหากันในภายหลัง สามารถบังคับตามข้อตกลงกัน แล้วถ้าไม่ได้อีกค่อยฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาหย่าโดยความยินยอมได้

             ซึ่งการหย่ากันโดยสมัครใจกันทั้งสองฝ่าย และมีข้อตกลงกันในบางเรื่อง สามารถติดต่อสอบถามที่สำนักงานเขต หรืออำเภอนั้นๆได้เลยครับ เพื่อให้มีการสลักหลังหลังใบหย่า หรือหากต้องการทำสัญญาหย่าโดยความยินยอมเนื่องจากมีรายละเอียดเยอะต้องการทำแยกออกมา สามารถติดต่อทนายในการร่างสัญญาหย่าโดยความยินยอมได้เลยครับ

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด