บริษัทไม่ส่งงบการเงิน เป็นอย่างไร?

บริษัทไม่ส่งงบการเงิน หรือส่งงบการเงินล่าช้า
การไม่ส่งงบการเงินมีอายุความกี่ปี
มีเบี้ยปรับอย่างไรบ้าง

บริษัทไม่ส่งงบการเงิน เป็นอย่างไร?

บริษัทไม่ส่งงบการเงิน เป็นอย่างไร?

        ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถปฏิบัติได้ตามกำหนดเวลา หากบริษัทไม่ส่งงบการเงินหรือส่งงบการเงินล่าช้า และไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดอาจส่งผลให้ถูกปรับและถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

บริษัทไม่ส่งงบการเงิน

           เมื่อบริษัทไม่ส่งงบการเงิน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจเรียกค่าปรับตามกฎกระทรวง โดยอายุความของกระทรวงพาณิชย์กำหนดได้สูงสุดแค่ 1 ปีเท่านั้น และตามป.อาญา มาตรา 95(5) คือ ถ้าไม่ได้ฟ้องและนำตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในหนึ่งปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ ส่วนของหมายจับมีอายุ 5 ปี เพื่อส่งฟ้องศาลต่อไป ดังนั้น ก่อนอายุความจะหมด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์จะส่งเรื่องให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะอาศัยตามประมวลรัษฎากรและพรบ.การบัญชีเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อ โดยส่งมอบให้ตำรวจท้องที่ดำเนินการ โดยหมายเรียกตำรวจจะส่งไปยังบริษัท ฐานไม่ยื่นงบการเงิน หรือส่งงบการเงินล่าช้า เกินกำหนด ตามพรบ.การบัญชี พ.ศ.2543 โดยในมาตรา 30 ผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน 50,000 บาทด้วย ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่ยื่นงบการเงิน หากยื่นงบการเงินล่าช้า อัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน จะมีการปรับทั้งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ในอัตราไม่เกิน 2,000 บาท ตามแต่ประเภทของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี เช่น อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือนจะมีการปรับทั้งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ในอัตราไม่เกิน 8,000 บาท ตามแต่ประเภทของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ,อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน จะมีการปรับทั้งผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ในอัตราไม่เกิน 12,000 บาท ตามแต่ประเภทของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

ค่าปรับกรมสรรพากร

        ค่าปรับกรมสรรพากร ค่าปรับกรณียื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ล่าช้า ในกรณีที่มีภาษีต้องชำระจะมีเงินเพิ่ม ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ซึ่งต้องนำส่งพร้อมกับงบการเงิน หากมีการยื่นแบบล่าช้าในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน มีค่าปรับ 1,000 บาท หากมีการยื่นแบบล่าช้าในระยะเวลาเกิน ระยะเวลา 7 วัน มีค่าปรับ 2,000 บาท ในกรณีไม่ยื่นงบการเงิน จะมีค่าปรับอาญา 2,000 บาท โดยค่าปรับมีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงินเช่นเดียวกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

          ดังนั้นบริษัทควรส่งงบการเงิน โดยยื่นงบการเงินให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลา เพื่อลดปัญหาที่ตามมาจากการที่บริษัทไม่ส่งงบการเงิน และค่าปรับต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด