ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ชาวต่างชาติกับการรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม
ต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอะไรบ้าง
และเป็นกรณีการรับบุตรบุญธรรมโดยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน
ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และแก่กว่าผู้เป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ซึ่งผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ต้องให้ความยินยอมด้วย ถ้าบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม หรือถ้าผู้เยาว์นั้นถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้น โดยผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้เป็นบุตรบุญธรรมถ้ามีคู่สมรส ต้องให้คู่สมรสไปให้ความยินยอมด้วย หากผู้ขอรับบุตรบุญธรรมเป็นชาวต่างชาติจะต้องมีคู่สมรส เว้นแต่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ในการรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรมต้องผู้มีคุณสมบัติที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ตามกฎหมายของประเทศไทย ที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่ และจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ซึ่งก็ต้องมีการพิจารณาว่าชาวต่างชาติที่ประสงค์จะรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม นอกจากชาวต่างชาติที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ต้องติดต่อผ่านหน่วยงานไหนก่อน
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอต่อส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมของประเทศที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาหรือหน่วยงานที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมาย หรือองค์การสวัสดิภาพเด็กที่รัฐบาลของประเทศนั้นอนุญาตให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ
ชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และมีหลักฐานหนังสือสำคัญประจำตัวต่างด้าว ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre) กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงความมั่นคงและทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร โทร 02- 2468651 โทรสาร 02-2479480
ชาวต่างประเทศที่มีถิ่นที่อยู่ชั่วคราวในประเทศไทยและมีหนังสืออนุญาตการทำงานจากกรมแรงงานมาแสดง และอาศัยในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันยื่นคำขอ และมีระยะเวลาสำหรับการทดลองเลี้ยงดูเด็กในประเทศได้ครบกำหนด ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยเอกสารต่าง ๆ จะต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุล ประจำประเทศไทยของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้นด้วย
ในส่วนของขั้นตอนการดำเนินเรื่อง ให้ยื่นเอกสารเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าเข้าก็จะมีการออกคำสั่งให้รับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และติดตามผล ถ้าผ่านการประเมินจะมีการพิจารณาอนุมัติให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม โดยผู้ขอรับจะต้องไปขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่ กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย การจดทะเบียนสามารถดำเนินการได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ เพื่อจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่