คดีครอบครัว 3

คดีครอบครัวนั้น มีเรื่องราวต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทีมทนายของเราจึงหยิบยกเรื่องต่างๆ มาวิเคราะห์ให้ท่านได้อ่านกัน

21

การจดทะเบียนรับรองบุตร

เชื่อว่าเป็นอีก 1 ปัญหาในเรื่องครอบครัว ที่ควรทำให้ชัดเจน ไหนจะความสัมพันธ์ของพ่อลูก ความมีสิทธิของแม่ที่มากกว่าพ่อ ที่สามารถกีดกันพ่อไม่ให้มาพบลูกได้ แม้ตนให้กำเนิด และมีการให้ใช้นามสกุลแจ้งเกิดว่าเป็นพ่อของลูก ก็ไม่ถือว่าเป็นการรับรองบุตร ที่พ่อจะใช้สิทธิทางกฎหมายได้

22

ฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทย มีขั้นตอนอย่างไร

ถ้าหากหญิงหรือชายไทยต้องการจดทะเบียนสมรสกับหญิงหรือชายชาวต่างประเทศในประเทศไทยตามกฎหมายไทย เมื่อจดทะเบียนสมรสและอยู่กินฉันสามีภริยาแล้ว ต่อมามีเหตุให้ฟ้องหย่าต่อกันไม่ว่าจะเป็น ไม่ได้อยู่ด้วยกันมาเป็นเวลาเกิน 3 ปี หรืออื่นๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 การฟ้องหย่าชาวต่างชาติในศาลไทยยังต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยกฎหมายขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 อีกด้วย เช่น ตามมาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยา ทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้ วรรคสอง เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า

23

ซื้อบ้านก่อนสมรส อย่างไรเป็นสินส่วนตัวและอย่างไรเป็นสินสมรส

การที่คนสองคนจดทะเบียนสมรสกัน ไม่ใช่ผูกพันกันแค่กายและใจ แต่ต้องผูกพันกันในเรื่องทรัพย์สินด้วย ซึ่งทำให้หลายคู่มีการวางแผนในเรื่องทรัพย์สินก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกัน ในหลายคู่มักจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีบ้านอยู่ก่อนจดทะเบียน แล้วอีกฝ่ายก็เข้ามาอยู่ด้วย โดยที่วางใจว่ายังไงบ้านก็เป็นสินส่วนตัว แต่ถามว่าถ้าซื้อบ้านก่อนจดทะเบียนสมรส บ้านนั้นจะเป็นสินส่วนตัวเสมอจริงหรือ? เริ่มไม่แน่ใจกันแล้วใช่ไหมล่ะครับ เพราะฉะนั้น เรามาไขข้อสงสัยนี้ให้กระจ่างกันเลยดีกว่า

24

การขอตั้งผู้อนุบาล ต้องทำอย่างไร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี ร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้

25

ถูกกีดกันไม่ให้เจอลูก! ทำยังไงได้บ้าง

เมื่อพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันแล้วมีลูกด้วยกัน ต่อมาเกิดมีปัญหาภายในครอบครัว แล้วอีกฝ่ายนำลูกไปโดยกีดกันไม่ให้เจอลูก ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองบุตรยังเป็นของพ่อและแม่ที่ปกครองบุตรร่วมกัน ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการให้อำนาจบุตรอยู่ที่ตนแต่ฝ่ายเดียว เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงมักฟ้องศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว หรือ

26

สามีภรรยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินเป็นของใคร

ความเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น…หากหญิงชายจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันนั้นย่อมเป็นสินสมรสร่วมกัน ตามมาตรา 1474 และเมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน ตามมาตรา 1533

27

ฟ้องชู้หลังจดทะเบียนหย่าได้หรือไม่ และทำอย่างไร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

28

ใบรับรองบุตร กับ สูติบัตร ต่างกันอย่างไร

เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วบิดาแจ้งเกิดให้ใช้นามสกุลของบิดาปรากฏตามใบสูติบัตร คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าทำแบบนี้คือ รับรองบุตรแล้ว แท้จริงแล้วการแจ้งเกิดในสูติบัตรกับใบรับรองบุตรจะเป็นคนละกรณีกัน เพราะหมายถึง พ่อเป็นพ่อที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

29

สามีเที่ยวผู้หญิงอย่างไร ถึงฟ้องหย่าได้

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่า มีดังต่อไปนี้ (1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ และสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น ตามมาตรา 1523

30

คดีความรุนแรงในครอบครัว คืออะไร และมีผลทางกฎหมายอย่างไร

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 “ความรุนแรงในครอบครัว” หมายถึงการกระทำใดๆโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคลในครอบครัวต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่รวมถึงการกระทำโดยประมาท