ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
สัญญาธุรกิจ คืออะไร
ขั้นตอนการร่างสัญญามีอะไรบ้าง
ทำไมถึงต้องร่างสัญญา
สัญญาเป็นนิติกรรมหลายฝ่าย เป็นการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อแสวงหาผลกำไรโดยเข้าผูกพันตนตามสัญญา “สัญญาธุรกิจ (Commercial Contract)” คือ การทำสัญญาผูกพันในด้านการค้าขายและการให้บริการ ขึ้นอยู่กับประเภทของสัญญาที่ทำขึ้นว่ามีวัตถุประสงค์เช่นไร โดยมีเรื่องของผลกำไรเป็นตัวกำหนดชี้เป้าหมาย และวัดความก้าวหน้าให้แก่บุคคล หรือองค์กรทางธุรกิจนั้น สัญญาที่ทำขึ้นจึงใช้บังคับได้ระหว่างคู่สัญญา เป็นสัญญาที่ไม่หละหลวม ตรงตามเจตนารมณ์ของคู่สัญญา เพื่อลดช่องว่าง ป้องกันการขัดต่อกฎหมาย
ในสัญญาธุรกิจส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย สัญญาจะซื้อจะขาย สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ขายฝาก เป็นต้น ซึ่งสัญญาแต่ละประเภทมีการใช้กฎหมายที่นำมาปรับใช้ต่างกัน จึงต้องทราบนิติกรรมที่ต้องการทำเป็นสัญญาว่าคืออะไร เพื่อร่างสัญญา ว่าต้องการทำสัญญาอะไร รายละเอียดของคู่สัญญา ข้อตกลงอื่นๆหรือข้อตกลงพิเศษอะไร เพื่อให้ทางทีมทนายร่างสัญญาเพื่อ
1.มีการกำหนดชื่อสัญญาไว้ชัดเจน ต้องการทำสัญญาอะไร เพื่อลดความขัดแย้ง ความคลาดเคลื่อนในการเข้าทำสัญญา เช่น สัญญาซื้อขายห้องชุด ริเวอร์ปาร์ควิว
2.ชื่อของคู่สัญญา ต้องมีการระบุคู่สัญญาที่เข้าทำสัญญานิติกรรมกัน ทั้งในกรณีของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคู่สัญญาที่เป็นชาวต่างประเทศมีเลขหนังสือเดินทาง ที่ทำการ หรือข้อมูลภูมิลำเนาในต่างประเทศ และในประเทศไทย โดยให้คู่สัญญาแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องท้ายสัญญา กรณีมีการฟ้องร้องในภายหลัง
3.วันที่และสถานที่ทำสัญญา จะเป็นเรื่องของอายุความและสถานที่มูลคดีเกิด
4.อารัมภบท เพื่อเป็นการตีความสัญญาให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น บอกเจตนารมณ์ของการเข้าทำสัญญานั้น หรือในสัญญามีการเชื่อมโยงไปถึงสัญญาใดบ้าง เช่น กรณีไม่ได้ซื้อสดในการซื้อขายห้องชุด ซึ่งต้องมีการกู้เงินธนาคาร ซึ่งห้องชุดจะมีเขียนติดจำนองธนาคารอะไรไว้อยู่ในสัญญา เป็นต้น
5.คำนิยาม หรือคำจำกัดความ เพื่อให้สัญญามีความกระชับเข้าใจง่าย เช่น ห้องชุด คือ นิติบุคคลอาคารชุด ริวอร์ปาร์ควิว ห้องชุดเลขที่……..โฉนดที่ดินเลขที่………ตำบล…….อำเภอ…..จังหวัด…… เป็นต้น
6.รายละเอียดข้อตกลง สาระสำคัญของสัญญา ข้อตกลงพิเศษ ระยะเวลาในการทำสัญญา ข้อกำหนด ข้อบังคับ มติที่ประชุม ข้อห้าม บทลงโทษ มาตรการหากผิดสัญญา สภาพบังคับตามสัญญา และอื่นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและมีกฎหมายรองรับ
7.การระงับข้อพิพาท หรือการสิ้นไปของสัญญา เช่น สัญญาสิ้นสุดลงด้วยเหตุศาลสั่งให้ล้มละลาย เหตุภัยอาทิ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือการผิดสัญญางวดหนึ่งงวดใดที่จะบอกเลิกสัญญาได้ หรือสัญญามีการระบุระยะเวลาไว้ เป็นต้น
โดยไม่ว่าจะเป็นสัญญาธุรกิจ สัญญาร่วมลงทุน สัญญาผู้ถือหุ้น กิจการร่วมค้า เพื่อเข้าทำสัญญานิติกรรมใดๆ เพื่อให้สัญญาที่ทำขึ้นมีผลบังคับใช้ได้ระหว่างคู่สัญญา และสามารถบังคับได้ตามกฎหมายหากกรณีผิดสัญญาต่อกัน โดยสามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับร่างสัญญาก่อนร่างสัญญาได้ หรือให้ทางสำนัก MKC LEGAL ช่วยดูแลเรื่องร่างสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่