ความรู้กฎหมาย หน้า 23

แหล่งรวบรวมข้อมูลบทความกฎหมายทุกประเภท นอกจากนี้เรายังหยิบยกเคสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือ ข่าวที่กำลังเป็นประเด็นดัง ณ ขณะนั้น เพื่อมาเล่าในมุมของกฎหมายให้ทุกท่านได้ทราบกัน

สำหรับท่านใดที่ต้องการส่งข้อมูลมาให้เราเล่าเรื่องราวในมุมของกฎหมาย สามารถคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย

231

ถูกกีดกันไม่ให้เจอลูก! ทำยังไงได้บ้าง

 เมื่อพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันแล้วมีลูกด้วยกัน ต่อมาเกิดมีปัญหาภายในครอบครัว แล้วอีกฝ่ายนำลูกไปโดยกีดกันไม่ให้เจอลูก ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ซึ่งหมายความว่า อำนาจปกครองบุตรยังเป็นของพ่อและแม่ที่ปกครองบุตรร่วมกัน ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการให้อำนาจบุตรอยู่ที่ตนแต่ฝ่ายเดียว เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงมักฟ้องศาลเพื่อขออำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียว หรือ

232

สร้างบ้านในที่ดินคนอื่น ผลเป็นอย่างไร

การสร้างบ้านในที่ดินของคนอื่น ต้องดูว่าเป็นการสร้างบ้านหรือโรงเรือนทั้งหลัง หรือส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของผู้อื่น โดยสุจริตตามมาตรา 1310 หรือไม่สุจริตอย่างไรตามมาตรา 1311 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

233

ฟ้องแบ่งแยกที่ดินที่ได้แยกครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ทำอย่างไร

ที่ดินกรรมสิทธิ์รวมเป็นที่ดินที่มีผู้เป็นเจ้าของหลายคน ซึ่งเมื่อเป็นที่ดินที่เป็นทรัพย์มีทะเบียน เราก็จะสามารถรู้ว่าใครเป็นเจ้าของบ้างจากสารบัญจดทะเบียนของที่ดินนั้น ๆ ซึ่งกฎหมายก็สันนิษฐานเอาไว้ก่อนเลยว่า เจ้าของรวมทุกคนเป็นเจ้าของในส่วนเท่า ๆ กัน ซึ่งเรื่องที่ผมจะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแบ่งที่ดินที่มีเจ้าของหลายคนว่าโดยหลักต้องทำอย่างไร แล้วถ้าต้องมีการฟ้องล่ะต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมกันแล้ว ไปดูกันเลยครับ

234

สามีภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรส ทรัพย์สินเป็นของใคร

ความเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น…หากหญิงชายจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันนั้นย่อมเป็นสินสมรสร่วมกัน ตามมาตรา 1474 และเมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน ตามมาตรา 1533

235

ฟ้องชู้หลังจดทะเบียนหย่าได้หรือไม่ และทำอย่างไร

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา 1516 (1) ภริยาหรือสามีมีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุแห่งการหย่านั้น

236

ครอบครองไว้เพื่อเสพ พิสูจน์อย่างไร

ในคดียาเสพติด กฎหมายกำหนดความผิดเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง ไปจนถึงการเสพ แต่ที่เป็นคดีเยอะๆ ในปัจจุบันสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ ครอบครองไว้เพื่อเสพ และ ครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย
วันนี้ผมจะพามาดูที่เรื่องการครอบครองเพื่อเสพครับว่ามันคืออะไร แล้วพอเป็นคดีจริง ๆ ขึ้นมา แต่เรากลับโดนข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่าย แบบนี้เราต้องพิสูจน์อย่างไรเพื่อให้เหลือเพียงข้อหาครอบครองไว้เพื่อเสพจริง ๆ ไม่ใช่เลยเถิดไปเป็นครอบครองเพื่อจำหน่าย ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยครับ

237

เมื่อศาลยกฟ้องแล้วฟ้องกลับอย่างไรได้บ้าง

ในหลายคดี ไม่ใช่ว่าโจทก์ที่เป็นคนฟ้องคดีจะถูกเสมอและที่สำคัญเรื่องที่ฟ้องก็อาจจะไม่ใช่ความจริงเสมอไปจนทำให้ฝ่ายที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยต้องเสียหายหรือเสียประโยชน์อะไรบางอย่างไปด้วยการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ ซึ่งจะมีคำที่ตามมาเสมอกับการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตก็คือ “ถ้าชนะคดี จะฟ้องกลับ” แต่การฟ้องกลับนั้นจะฟ้องยังไง ฟ้องในข้อหาอะไร ศาลยกฟ้องแล้วฟ้องกลับได้ในทุกคดีหรือไม่ วันนี้เราเตรียมคำตอบมาให้ทุกคนแล้วครับ

238

ใครที่ไม่สามารถเป็นพยานในพินัยกรรม

พินัยกรรมเป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่สั่งการเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้ทำ แต่พินัยกรรมนี้จะมีผลเมื่อผู้ทำถึงแก่ความตาย ซึ่งตามความเข้าใจของคนทั่ว ๆ ไป พินัยกรรมก็คือเอกสารที่ผู้ตายยกทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งถ้าทำพินัยกรรมแบบพิมพ์จะต้องมีพยานในพินัยกรรม หลายคนอาจจะตกม้าตายก็ตรงนี้แหละครับ เพราะพยานในพินัยกรรมเราก็ต้องทราบด้วยว่าตามกฎหมายใครเป็นพยานไม่ได้ เพราะขืนเอาคนที่กฎหมายห้ามมาเป็นพยาน พินัยกรรมก็อาจเสียไปเลยครับ วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าพยานในพินัยกรรม ใครบ้างที่เป็นไม่ได้

239

ใบรับรองบุตร กับ สูติบัตร ต่างกันอย่างไร

เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วบิดาแจ้งเกิดให้ใช้นามสกุลของบิดาปรากฏตามใบสูติบัตร คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าทำแบบนี้คือ รับรองบุตรแล้ว แท้จริงแล้วการแจ้งเกิดในสูติบัตรกับใบรับรองบุตรจะเป็นคนละกรณีกัน เพราะหมายถึง พ่อเป็นพ่อที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

240

เหตุเสียสิทธิในการรับมรดกมีอะไรบ้าง

การที่เราจะได้รับมรดกจากใครสักคน อย่างแรกเราจะต้องมีฐานะเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อน แต่ถึงแม้เราจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกแล้วก็ตาม เราก็อาจเสียสิทธิที่จะรับมรดกได้ด้วยเหตุบางอย่างเช่นกัน วันนี้ผมเลยจะพาทุกคนมาดูว่าเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ทายาทเสียสิทธิในการรับมรดกไป