ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
สัญญาจ้างกำหนดว่า ห้ามลูกจ้างไปทำงานกับคู่แข่ง 3 ปี หลังออกจากงาน
แบบนี้ เป็นธรรมหรือไม่
#ทนายเล่าเรื่อง วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาที่คดีเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานกันบ้างครับ โดยผมยกคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องสัญญาจ้างแรงงานที่กำหนดในสัญญาว่า ห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งเป็นเวลา 3 ปี ข้อสัญญาแบบนี้เป็นธรรมหรือไม่ เราไปดูกันเลยครับว่าศาลจะติดสินว่ายังไง
คดีนี้ บริษัท A ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ บริษัท A จ้างนายคิมเข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานฝ่ายการตลาดของบริษัท ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการตลาด การโฆษณา การโปรโมทสินค้า และงานอื่นที่เกี่ยวกับการทำการตลาด โดยในสัญญาก็มีการกำหนดข้อสัญญาเหมือนสัญญาอื่นทั่วไป แต่มีสัญญาข้อนึงที่กำหนดว่า “ภายหลังสิ้นสุดสัญญาจ้าง ห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทอื่นใดที่ประกอบธุรกิจประเภทเดียวกันหรือเป็นคู่แข่งทางการค้ากับนายจ้าง เป็นเวลา 3 ปี” นายคิมทำงานได้ 2 ปีนิดๆ ก็ลาออกจากงานไป สัญญาจ้างก็สิ้นสุดลง ปรากฏว่าหลังจากลาออกมา 8 เดือน นายคิมได้เข้าไปทำงานเป็นฝ่ายการตลาดของบริษัท F ซึ่งประกอบธุรกิจนำเข้ารถยนต์เหมือนบริษัท A
บริษัท A จึงมาฟ้องนายคิมให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญาจ้าง ซึ่งนายคิมต่อสู้ว่า สัญญาไม่เป็นธรรม เป็นการจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพและนายจ้างหรือบริษัท A ได้เปรียบเกินสมควร พอเรารู้ข้อต่อสู้ของแต่ละฝ่ายกันแล้ว เราไปดูกันเลยครับว่าศาลจะตัดสินว่ายังไง
คดีนี้ ศาลมองว่า นายคิมยินยอมที่จะผูกพันตามข้อสัญญาจ้าง แม้เป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของนายคิมในการประกอบอาชีพ แต่คงห้ามจำเลยเฉพาะไม่ให้นายคิมไปทำงานในบริษัทคู่แข่งของบริษัท A หรือไม่ไปทำงานกับบริษัทอื่นใดที่ประกอบกิจการประเภทเดียวกันกับบริษัท A ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่ได้เป็นการตัดหรือจำกัดการประกอบอาชีพของนายคิมทั้งหมด เนื่องจากเมื่อนายคิมลาออกจากการเป็นลูกจ้างบริษัท A แล้วนายคิมก็ยังสามารถไปประกอบอาชีพอื่นได้ รวมทั้งนายคิมยังอาจประกอบอาชีพพนักงานฝ่ายการตลาดที่นายคิมมีความเชี่ยวชาญในกิจการอื่นๆ ได้ เมื่อคำนึงถึงทางได้เสียทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายของบริษัท A และนายคิมแล้ว การจำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพบางประการของนายคิมดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่การจ้างสิ้นสุดลงก็เป็นระยะเวลาพอสมควร ไม่ทำให้นายคิมผู้ถูกจำกัดสิทธิต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่ถึงขนาดเป็นข้อสัญญาที่ทำให้บริษัท A ซึ่งเป็นนายจ้างได้เปรียบนายคิมซึ่งเป็นลูกจ้างเกินสมควร ทั้งไม่เป็นข้อสัญญาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สัญญาจ้างจึงใช้บังคับต่อนายคิมได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ
ดังนั้น การที่นายคิมลาออกจากการเป็นลูกจ้างบริษัท A แล้ว เข้าทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท F ซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์อันเป็นกิจการประเภทเดียวกันกับบริษัท A ภายในเวลา 3 ปีนับแต่การจ้างสิ้นสุดลง การกระทำของนายคิมจึงเป็นการผิดสัญญาจ้างทำให้บริษัท A ได้รับความเสียหาย นายคิมจึงต้องรับผิดตามสัญญาจ้างต่อบริษัท A
อ้างอิง : ฎ.3516/2561
รวมสาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับ #ทนายเล่าเรื่อง มาให้ชมกัน
ติดต่อ ปรึกษาทนาย หรือ จ้างทนาย คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่