คดีอาญาเลิกกันด้วยการจ่ายค่าปรับ

คดีอาญาเลิกกัน

การถอนฟ้องเป็นกระบวนพิจารณาที่จะยุติหรือยกเลิกการดำเนินคดีที่ขึ้นสู้ศาล แต่คดีอาญาเลิกกัน อันจะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไป เป็นการดำเนินการเพื่อยุติคดีในชั้นเจ้าพนักงาน คดีอาญาเลิกกันแบ่งออกเป็น 2 กรณี

คดีอาญาเลิกกันโดยเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูง

ประการ 1 ต้องเป็นคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว
ประการ 2 ผู้กระทำผิดยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ประการ 3 และต้องนำค่าปรับมาชำระก่อนศาลพิจารณา

คดีอาญาเลิกกันโดยการเปรียบเทียบ

คือ กรณีคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แบ่งออกได้ 2 ประการ
ประการ 1 ต้องเป็นคดีซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร
ประการ 2 คดีเหล่านี้ เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือตำรวจสัญญาบัตรทำการในตำแหน่งนั้นๆได้เปรียบเทียบแล้ว

ตัวอย่าง พระราชบัญญัติศุลกากรที่จำเลยยกขึ้นอ้างดังกล่าวให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรหรือคณะกรรมการที่ระบุไว้ในมาตรานั้นมีอำนาจที่จะงดการฟ้องร้องแก่บุคคลผู้กระทำความผิดได้เฉพาะในกรณีที่บุคคลนั้นตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนจะถูกฟ้องแล้วเท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าปรับตามที่ตกลงยินยอมจึงถือไม่ได้ว่ามีการเปรียบเทียบคดี อันจะทำให้คดีของจำเลยเป็นอันเลิกกันตามมาตราดังกล่าวสิทธินำคดีอาญามาฟ้องโจทก์จึงไม่ระงับไป พนักงานอัยการโจทก์จึงอำนาจฟ้อง

ตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่อากรมหรสพได้มีหนังสือให้ผู้จัดการโรงภาพยนตร์นำเงินอากรและค่าเพิ่มอากรไปชำระ ณ กองอากรแสตมป์ ณ กรมอากรแสตมป์ กรมสรรพากร ภายใน 10 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ แม้เจ้าหน้าที่จะได้รับเงินไว้แล้วก็ตาม แต่จะถือว่าเป็นการกระทำหรือเป็นการเปรียบเทียบโดยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ทำการแทนหาได้ไม่ สรุปแล้ว คดีนี้จึงหาได้เลิกกันแล้วไม่

วิธีการเปรียบเทียบคดีอาญา

  1. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบเห็นว่าผู้ต้องหาไม่ควรได้รับโทษถึงจำคุก
  2. ให้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับซึ่งผู้ต้องหาจะพึ่งชำระโดยผู้ต้องหาและผู้เสียหายต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดไม่ยินยอมจะเปรียบเทียบไม่ได้ คดีอาญาไม่เลิกกันและให้ดำเนินคดีต่อไป แต่กรณีที่ยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย เจ้าพนักงานอาจกำหนดให้ผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่กำหนดให้ภายในเวลาอันสมควรแต่ไม่เกิน 15 วัน ถ้าผู้ต้องหาชำระ คดีนั้นเป็นอันเสร็จเด็ดขาดแต่ถ้าไม่ชำระเงินค่าปรับภายในเวลากำหนดให้ดำเนินคดีต่อไป
  3. ในคดีมีค่าทดแทน ถ้าผู้เสียหายและผู้ต้องหายินยอมให้เปรียบเทียบให้เจ้าหน้าที่กะจำนวนเงินตามที่เห็นควรหรือตามที่คู่ความตกลงกัน

ตัวอย่าง การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับและชำระค่าปรับแล้ว มีผลเพียงทำให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกัน การเปรียบเทียบปรับของพนักงานสอบสวนดังกล่าว ไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา

ดังนั้น กรณีคดีอาญาเลิกกัน เป็นกรณีที่คดีอาญานั้นมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าผู้กระทำผิดได้ยอมรับผิดและยอมรับโทษเต็มตาม คดีจึงไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการอะไรอีก จึงให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันทันที ย่อมทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับไป

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด