ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ตัวการ คือกรณีที่ความผิดที่เกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้น ผู้ที่ร่วมกระทำความผิดนั้นเป็นตัวการ โดยหลักสามารถแยกได้นี้
1.1 หากการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด ผู้ที่ร่วมกระทำก็ไม่เป็นตัวการ เพราะตัวบทใช้คำว่าร่วม กระทำความผิด ด้วยกัน
1.2 หากการกระทำนั้นได้กระทำไปไม่ถึงขั้นที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ผู้ที่ร่วมกระทำก็ไม่เป็นตัวการ
ตัวอย่าง – ก และ ข สมคบกันไปฆ่า ค โดยตกลงกันว่า ก จะทำหน้าที่ยิง ส่วน ข จะคอยดูต้นทางให้ขณะที่ ก เห็น ค เดินมากับลูกๆ ก เกิดสงสารจึงกลับใจไม่หยิบปืนออกจากกระเป๋า ถือว่า ก และ ข ไม่เป็นตัวการในความผิดฐานฆ่าคนตาย เพราะ ก ยังมิได้ ลงมือ ฆ่า ค แต่อย่างไรใด
1.3 หากการกระทำนั้นเป้นความผิดสำเร็จไปแล้วไปแล้ว และความผิดนั้นก็ สิ้นสุด ลงแล้วเพราะไม่ใช่ ความผิดต่อเนื่อง การร่วมกระทำในขณะนั้น ก็ไม่เป็นตัวการ
ตัวการ หมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกระทำความผิดด้วยกันหากคนๆ เดียวทำผิด ไม่ถือว่าเป็นตัวการ บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปนี้ คนหนึ่งอาจเป็นนิติบุคคล อีกคนหนึ่งเป็นบุคคลธรรมดาก็ได้
การกระทำร่วมกันมีได้หลายกรณี เช่น
3.1 การร่วมกระทำส่วนหนึ่งของการกระทำทั้งหมดที่รวมกันเป็นความผิดขึ้น หมายความว่า ผู้กระทำแต่ละคนได้กระทำการถึงขั้นเป็นความผิดในตัวเอง เช่น ได้ร่วมในการ ลงมือ กระทำความผิดด้วย
ตัวอย่าง – นายแดงร่วมกับพี่ชายของนายแดงทำร้าย นายขาวผู้ตาย โดยนายแดงเป็นคนแทง พี่ชายของนายแดงเป็นคนยิง นายแดงและพี่ชายของนายแดงมีความผิดฐานเป็นตัวการฆ่าผู้อื่น
3.2 การแบ่งหน้าที่กันทำ หมายความว่า ผู้ร่วมกระทำคนหนึ่งลงมือกระทำการอันเป็นความผิดในตัวเอง ในขณะที่ผู้ร่วมกระทำอีกคนหนึ่งได้ทำหน้าที่อย่างอื่นๆซึ่ง โดยสภาพไม่เป็นความผิดในตัวเอง เช่นคอยดูต้นทาง หรือคอยแจ้งสัญญาณอันตราย
3.3 การอยู่ร่วมหรือใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ ในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือกันได้ทันที
3.4 การอยู่ร่วมในที่เกิดเหตุ และก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
หมายความว่า ผู้ที่กระทำการร่วมกันนั้น จะต้องรู้ถึงการกระทำของกันและกัน และต่างต้องประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นการกระทำของตนด้วย กล่าวคือมุ่งหมายให้ความผิดนั้นสำเร็จดุจทำด้วยตนเอง ถึงแม้จะมิได้ทำจริงด้วยมือของตนเองก็ตาม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีเจตนาที่จะให้การกระทำผิดของพวกร่วมมือทั้งหมด เป็นของตน ซึ่งต่างกับ ผู้สนับสนุนซึ่งมีเจตนาจะให้ เป็นการกระทำของบุคคลอื่น กล่าวคือ เพียงแต่ช่วยเหลือให้การกระทำของคนอื่นเป็นผลสำเร็จ
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เมื่อผู้กระทำเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดแล้ว แต่ละคนจะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้กระทำคนอื่นๆด้วย เช่น ร่วมกันทำร้ายร่างกาย ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส จากการกระทำของผู้กระทำคนหนึ่ง ผู้กระทำทุกคนต้องรับผิด ในฐานะที่เป็นตัวการหรือหากผู้ถูกทำร้ายตาย ผู้กระทำทุกคนก็ต้องรับผิดในฐานะตัวการ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่