การถอนฟ้องในคดีอาญา

ถอนฟ้อง

เมื่อโจทก์ไม่ว่าจะเป็นพนักงานอัยการหรือผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องผู้กระทำความผิดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง แต่โดยมีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การถอนฟ้อง ที่จะทำให้คดีสิ้นสุดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน หรือคดีความผิดอันยอมความได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์การถอนฟ้องจึงมีทั้งการถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัว(ความผิดอันยอมความได้) และการถอนฟ้องในคดีผิดอาญาแผ่นดิน(ความผิดอันยอมความได้)

1. วิธีการถอนฟ้อง ความผิดอาญาแผ่นดิน หลักเกณฑ์

1. ให้ทำคำร้องยื่นศาลชั้นต้นก่อนมีคำพิพากษา
2. ศาลมีอำนาจที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องก็ได้แล้วตาศาลจะเห็นสมควรเป็นดุลพินิจศาล
ตัวอย่าง ความผิดอันยอมความไม่ได้ หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ไม่อาจถอนฟ้องได้ แต่ถ้าคำร้องถอนฟ้องของโจทก์นั้นเจตนาถอนฟ้องฎีกา ศาลฎีกาย่อมอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องฎีกาและจำหน่ายคดีได้
3. ถ้าคำร้องขอถอนฟ้องยื่นภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ศาลปฏิบัติดังนี้
3.1 ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่
3.2 ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้จดคำคัดค้านของจำเลยไว้
3.3 ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ยกคำร้องขอถอนฟ้อง

2. วิธีการถอนฟ้อง ความผิดส่วนตัว หลักเกณฑ์

1. ทำคำร้องขอถอนฟ้องหรือยอมความไว้ในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุด
2. ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ยกคำร้อง
ตัวอย่าง คดีความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างฎีกาผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า เนื่องจากผู้เสียหายกับจำเลยตกลงกันได้แล้ว ผู้เสียหายไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปจึงขอถอนฟ้อง จำเลยไม่คัดค้านและโจทก์ทราบคำร้องแล้วไม่คัดค้าน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ว่าผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยจำเลยก็ตามแต่ในคำร้องของผู้เสียหายก็ระบุข้อความชัดเจนว่า แต่เนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ดังนั้น ผู้เสียหายจึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะถอนคำร้องทุกข์ นั้นเอง แต่ใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง เพราะความจริงคดีนี้ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ผู้เสียหายมิได้ยื่นฟ้องจำเลยแต่อย่างใด ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปแล้วจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี

3. ผลของการถอนฟ้องคดีอาญา

หลัก คือ คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องจากศาลแล้ว จะนำมาฟ้องอีกไม่ได้ แต่ต้องเป็นการถอนฟ้องโดยเด็ดขาด แต่ก็มีข้อยกเว้น คือ
1.พนักงานอัยการฟ้องอาญาซึ่งไม่ได้ความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้ว ได้ถอนฟ้องคดีนั้นไป ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
2.พนักงานอัยการถอนคดีความผิดต่อส่วนตัวไป โดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย การถอนนี้ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่
3.ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาไว้แล้วถอนฟ้อง การถอนฟ้องไม่ตัดสิทธิหนักงานอัยการที่จะยื่นฟ้องคดีนั้นใหม่ เว้นแต่คดีนั้นเป็นความผิดต่อส่วนตัว

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีอาญา คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีอาญาหรือ จ้างทนายคดีอาญา คลิก!

บทความกฎหมายล่าสุด