พ่อตามกฎหมาย

การทำให้เป็นพ่อตามกฎหมาย

บิดาคือ ชายที่ทำให้เด็กเกิดจากครรภ์ของหญิงโดยวิธีการปฎิสนธิกันตามธรรมชาติหรือทางการแพทย์(เช่น การทำการผสมเทียมจากอสุจิของฝ่ายชาย) ซึ่งตามกฎหมายครอบครัวแล้ว เด็กที่ขึ้นมายังไม่อาจถือได้ว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้นั้น ชายผู้นั้นยังอาจเป็นบิดาตามพฤตินัยหรือบิดานอกกฎหมายครอบครัวเท่านั้น

เป็นพ่อตามกฎหมาย

วิธีทำให้เป็นพ่อตามกฎหมาย มี 3 วิธีดังนี้

1. บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายจากการสมรส

การจดทะเบียนสมรสกันระหว่างบิดามารดาต้องเป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย บิดาที่เป็นผู้จดทะเบียนสมรสนั้นเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กนั้นนับแต่เด็กเกิดทันที แต่ถ้าเป็นการสมรสที่ผิดต่อกฎหมายครอบครัวในประเภทต่อไปนี้ กฎหมายครอบครัวได้ให้ข้อสันนิษฐานถึงความเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของชายบางประเภทดังต่อไปนี้

  1. เด็กที่เกิดกับหญิงที่ทำการสมรสใหม่กับชาย ที่หญิงนั้นได้หย่าหรือสิ้นสุดการสมรสกับชายคนก่อนยังไม่ถึง 310 วัน กฎหมายได้สันนิษฐานให้เด็กที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายที่ทำการสมรสครั้งหลัง (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1537)
  2. เด็กที่เกิดจากหญิงที่ทำการจดทะเบียนสมรสซ้อน กฎหมายได้สันนิษฐานให้เด็กที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบุตรโดยด้วยกฎหมายของชายที่ทำการสมรสครั้งหลัง แต่ถ้าศาลได้มีคำพิพากษาว่าเด็กนั้นไม่ใช่เด็กของชายที่จดทะเบียนครั้งหลังแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานว่า ให้ชายที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายหรือชายที่จดทะเบียนสมรสอยู่ก่อนเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1538)
  3. เด็กที่เกิดกับหญิงภายใน 310 วันนับแต่ที่สิ้นสุดการสมรสนอกจากกรณีตามข้อ 1 และ 2 ที่กล่าวแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเด็กนั้นเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536)
บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายรสมรส

โดยกรณีนี้หากบุคคลที่ตามกฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เป็นผู้แจ้งเกิดเองหรือจัดหรือยอมให้มีการแจ้งเกิดย่อมมีสิทธิฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปีนับแต่วันที่เด็กเกิด โดยชายผู้ฟ้องคดีครอบครัวประเภทนี้ต้องฟ้องมารดาและเด็กร่วมกันต่อศาลเยาวชนและครอบครัว แต่หากมารดาของเด็กเสียชีวิตก่อนฟ้องให้ฟ้องเฉพาะเด็กได้ แต่หากเด็กเสียชีวิตก่อนฟ้องให้เพียงแต่ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวได้ และชายผู้ฟ้องคดีพิสูจน์ให้ได้ว่าตนไม่ได้ร่วมกับมารดาเด็กในระยะเวลา 180 – 310 วันก่อนเด็กเกิด หรือไม่สามารถเป็นบิดาเด็กได้เพราะเหตุอื่นๆ (เช่น ตนเป็นหมัน ฯลฯ)(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1539 ถึง 1542)

บริการเพิ่มเติม ฟ้องไม่รับเด็กเป็นบุตร

2. การจดทะเบียนรับรองบุตร

จดทะเบียนรับรองบุตร

บิดาจดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรหรือการจดรับรองบุตรนั้น การจดทะเบียนมิใช่การลงไว้ในทะเบียนคนเกิดและสูติบัตรเท่านั้น แต่การจดทะเบียนนั้นทางมารดาและเด็กต้องยินยอมต่อหน้านายทะเบียนอำเภอ หากไม่อาจยินยอมต่อหน้านายทะเบียนอำเภอ ให้นายทะเบียนแจ้งไปยังเด็กและมารดาหากไม่คัดค้านหรือยินยอมไม่ทันภายในกำหนด 60 วันนับแต่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน(หรือ 180 วันกรณีที่เด็กหรือมารดาอยู่ต่างประเทศ) กฎหมายให้สันนิษฐานว่าไม่ยินยอม เมื่อสันนิษฐานว่าไม่ยินยอมหรือกรณีเด็กหรือมารดาแสดงการคัดค้าน บิดาต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลอนุญาต และนำคำสั่งศาลมาจดทะเบียนต่อนายทะเบียน โดยเมื่อจดทะเบียนเสร็จสิ้นย่อมมีผลเป็นบุตรตามกฎหมายย้อนหลังไปนับตั้งแต่เด็กเกิด (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1548)

3. ศาลพิพากษาว่าเด็กนั้นเป็นบุตร

โดยวิธีการนี้เป็นการที่เด็กฟ้องขอให้รับเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างและพิสูจน์ให้เข้าเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 ซึ่งได้แก่

  1. เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  2. เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  3. เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตร
  4. เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือยินยอมในการแจ้งนั้น
  5. เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  6. เมื่อมีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาที่หญิงอาจตั้งครรภ์ได้
  7. เมื่อมีพฤติการณ์รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร (เช่นให้ใช้ชื่อสกุล,ให้การศึกษา เป็นต้น)
ศาลพิพากษา บุตร

เมื่ออ้างและพิสูจน์ให้เข้าเหตุตามที่กล่าวแล้วกฎหมายให้สันนิษฐานว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของชายผู้ถูกกล่าวอ้าง และหากชายผู้นั้นพิสูจน์เป็นอย่างอื่นไม่ได้แล้ว ศาลก็จะพิพากษาให้เด็กนั้นเป็นบุตรตามกฎหมายของชายผู้ถูกกล่าวอ้าง และมีผลย้อนหลังไปนับแต่เด็กนั้นเกิด

โดยการฟ้องของเด็กนั้น หากเด็กยังอายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ กฎหมายให้ผู้แทนโดยชอบธรรม(เช่น มารดาเด็ก ฯลฯ)เป็นผู้ฟ้องแทนได้ แต่ถ้าเด็กอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์เด็กนั้นต้องฟ้องคดีเอง โดยถ้าเด็กบรรลุนิติภาวะแล้วจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ ส่วนการดำเนินคดีในศาลผู้แทนโดยชอบธรรมจะเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ในเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้เนื่องจากในการดำเนินคดีผู้เยาว์ในศาลยังถือเป็นผู้มีความสามารถไม่เต็มตามกฎหมายที่จะดำเนินการได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1546)

บริการเพิ่มเติม ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร

เช่นนี้แม้ในขณะที่เกิดเด็กนั้นจะไม่เป็นบุตรตามกฎหมายครอบครัวของบิดา แต่หากได้ทำตามวิธีการตามที่กล่าวแล้วย่อมกลายเป็นบุตรตามกฎหมายครอบครัว อันเกิดสิทธิตามกฎหมายต่อไปเช่นกัน

ขอบคุณที่ติดตาม หากบทความนี้มีประโยชน์โปรดแชร์เพื่อเป็นความรู้ต่อไป และหากมีปัญหาใดๆเกี่ยวกับคดีครอบครัวในทางเราดูแลโดยทนายคดีครอบครัวต่อไปทางเว็บไซด์นี้ หรือทางไลน์ @mkclegal หรือทุกช่องทางในนาม MKC Legal Group

อ่านบทความเพิ่มเติม คดีครอบครัว คลิก!

ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีครอบครัวหรือ จ้างทนายคดีครอบครัว คลิก!