ยึดทรัพย์คดียาจากคณะกรรมการตรวจสอบ

ยึดทรัพย์คดียา

การยึดทรัพย์ในคดียาเสพติดตามกฎหมายแบ่งได้ 3 ประเภท และมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้

ทรัพย์คดียาเสพติด

ทรัพย์ตามประเภทที่ 1 ทรัพย์ของกลางนั้น ได้กล่าวไว้ในเรื่อง ยึดทรัพย์คดียาเสพติด(ทรัพย์ของกลาง) แล้ว ทั้งนำเสนอถึงว่าทรัพย์ใดคือทรัพย์ของกลาง และทางแก้ของเจ้าของทรัพย์เพื่อขอคืนทรัพย์นั้นคืน ต่อไปจะกล่าวถึงทรัพย์ประเภทที่ 2

2. การยึดทรัพย์สินที่เป็นทรัพย์ตามมาตรา 27 แห่งพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 คือทรัพย์ที่เกิดจากการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ได้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หากจากการตรวจสอบแล้วมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์ใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น นำรายได้จากการขายยาเสพติดไปซื้อทรัพย์สิน ฯลฯ (ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายถึง การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และรวมถึง การสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย) โดยในการตรวจสอบนั้นนอกจากจะเป็นทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดแล้ว ยังหมายรวมถึงทรัพย์ของผู้อื่นที่รับการให้โดยเสน่หาจากผู้กระทำความผิดด้วย เมื่อตรวจสอบแล้วจะทำการยึดหรืออายัดไว้ชั่วคราว จากนั้นนำส่งเรื่องให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญามีคำสั่งรีบทรัพย์นั้น เมื่อศาลมีคำสั่งรีบทรัพย์นั้น ทรัพย์ดังกล่าวจะตกยังกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามพ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 หรือเรียกทรัพย์ประเภทนี้ว่า “ทรัพย์ที่ถูกตรวจยึดคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามพ.ร.บ.มาตรการฯ”

ทรัพย์มาตรา 27

ทางแก้ของเจ้าของทรัพย์สินประเภทนี้ เจ้าของทรัพย์ควรต้องทำการชี้แจงและแสดงหลักฐานไว้ตั้งแต่ชั้นการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจทรัพย์สิน โดยแสดงให้เห็นในประเด็นว่า ทรัพย์สินที่ถูกตรวจสอบนั้นไม่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดยาเสพติด หรือได้รับโอนโดยสุจริตเสียค่าตอบแทน หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี หรือในทางกุศลสาธารณ และหากในชั้นคณะกรรมการตรวจทรัพย์สินจากมีการยื่นยึดไว้ทางเจ้าของทรัพย์ก็จะสามารถนำประเด็นดังกล่าวไปยื่นสู้ได้อีกครั้งในชั้นศาล พร้อมกับสามารถรอคดีของผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นก่อนได้ กล่าวคือ นอกจากทางสู้ที่กล่าวมาแล้วข้างตนที่นำมาสู้ในศาลได้แล้ว หากคดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยใด ทรัพย์ตามประเภทนี้ก็จะไม่สามารถยึดได้เช่นกัน

ทางแก้การยึดทรัพย์

เช่นนี้ แล้วทรัพย์ประเภทนี้จึงแตกต่างกับทรัพย์ของกลางในประเภทที่ 1 ทั้งในส่วนการดำเนินการและแนวนทางสู้คดี ฉะนั้น บทความนี้คงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านที่นำไปใช้ปฎิบัติได้

ส่วนกรณีการยึดทรัพย์คดียาเสพติดตามประเภทที่ 3 ทรัพย์ตามพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 นั้น ทางเราขอนำเสนอในบทความการยึดทรัพย์คดียาเสพติด(ตอนที่ 3) ต่อไป

บทความกฎหมายล่าสุด