ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในปัจจุบัน คดียาเสพติดที่ขึ้นสู่ศาลมีอยู่ประมาณ 70-80% เลยทีเดียว และแน่นอนว่านักโทษในเรือนจำส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักโทษในคดียาเสพติด แต่รู้กันหรือไม่ว่ากฎหมายเปิดช่องเอาไว้ให้เราสามารถได้รับโทษน้อยลงกว่าที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ได้ด้วยนะ แต่แน่นอนว่าก็ต้องเข้าเงื่อนไขของกฎหมายด้วย
เรื่องการกำหนดโทษในคดียาเสพติด ผมขอเน้นไปที่คดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดนะครับซึ่งก็จะคือพวกความผิดเกี่ยวกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองครับ ซึ่งโดยหลักถ้าเป็นความผิดตามที่ว่ามา กฎหมายให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับเสมอครับ แต่ถึงอย่างนั้น กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษได้มากขึ้น โดยถ้าศาลเห็นว่า ดูจากความพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง ความร้ายแรงของการกระทำความผิด และฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำเฉพาะคนไป ศาลอาจลงโทษจำคุกหรือปรับน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้
แม้ศาลจะสามารถมีดุลยพินิจในการกำหนดโทษได้มากขึ้น ฝ่ายเราก็สามารถทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อให้ศาลพิจารณาลดโทษไปอีกทางด้วยก็ได้ครับ โดยการขอลดโทษคดียาเสพติดที่ผมกำลังจะเล่าให้ฟังนี้จะเป็นขั้นตอนในศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลจะพิพากษาครับ ซึ่งตามกฎหมายจะสามารถขอลดโทษในคดียาเสพติดได้ 2 กรณีครับ
1. ให้การเป็นประโยชน์ต่อการปราบปรามยาเสพติด
กรณีนี้เป็นเหตุลดโทษมาตรา 100/2 พ.ร.บ.ยาเสพติดเก่า ที่นำมาใส่ไว้ในประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 153 โดยถ้าจำเลยได้มีการให้ข้อมูลที่สำคัญหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปราการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดกับเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องหรือพนักงานสอบสวนในคดี เช่น ให้การซักทอดว่ามีการขายตรงไหน รับมาจากไหนจนสามารถจับผู้กระทำรายอื่นได้อีก เป็นต้น ซึ่งอัยการจะต้องระบุที่เราให้การเป็นประโยชน์มาในคำฟ้องหรือคำร้อง และศาลเห็นว่าเป็นตามนั้นจริง แบบนี้ศาลก็สามารถพิจารณาลงโทษจำเลยน้อยกว่าโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ครับ
แต่ถึงอัยการไม่ได้ระบุไปในคำฟ้องหรือคำร้อง จำเลยก็สามารถทำคำร้องยื่นต่อศาลเองก็ได้ เหมือนแจ้งกับศาลเองเลยว่าเราให้การเป็นประโยชน์ ขอให้ศาลลงโทษน้อยลงนั่นเอง ซึ่งตรงนี้เราจะต้องดูคำฟ้องของอัยการให้ดีเพื่อที่จะรักษาสิทธิของตัวเองนะครับ
2. คำแถลงประกอบคำรับสารภาพ ส่วนกรณีนี้ก็เป็นการขอลดโทษกรณีทั่วไปเลยครับ ซึ่งตามปกติหากเราให้การรับสารภาพแล้วก็จะถือเป็นการให้ความรู้แก่ศาลและเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี ศาลสามารถลดโทษลงได้มากสุดคือครึ่งหนึ่งของโทษที่เราได้รับ แต่ทีนี้เราสามารถทำคำร้องประกอบไปกับคำรับสารภาพของเราเพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจลงโทษสถานเบาและให้รอการลงโทษเอาไว้ก็ได้ครับ
โดยสิ่งที่จะต้องเขียนในคำแถลงประกอบคำรับสารภาพก็ขึ้นอยู่กับแต่ละตัวบุคคลเลยครับ หลัก ๆ คือเราต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า เราสำนึกในการกระทำและต้องการกลับตัวเป็นคนดี โดยอาจจะเขียนเกี่ยวกับความประพฤติต่าง ๆ ของเราว่าเป็นคนที่ประพฤติดีแค่ไหน เคยทำอะไรมาบ้าง มีหน้าที่การงานอย่างไร มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือเปล่า มีใครที่ต้องดูแลหรือไม่ เป็นต้นครับ
อ่านบทความเพิ่มเติม คดียาเสพติด คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดียาเสพติด หรือ จ้างทนายคดียาเสพติด คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่