ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2564 มีการประกาศแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2 มาตรา คือ มาตรา 7 และมาตรา 224 ทั้งนี้ ยังมีการเพิ่มเติมมาตรา 224/1 อันเกี่ยวกับดอกเบี้ยผิดนัดในหนี้ที่ผ่อนชำระเป็นงวดอีกด้วย ซึ่งกฎหมายนี้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ซึ่งปัจจุบันยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในภาคเอกชนเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นจำนวนมาก วันนี้เราจะมาเคลียร์ทุกประเด็นกัน!!
1. อัตราดอกเบี้ยธรรมดา เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยที่เกิดจากการกลับสู่ฐานะเดิมเมื่อเลิกสัญญา โดยถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ตามกฎหมายเก่าให้เรียกได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ตามกฎหมายใหม่ให้เรียกได้เพียงร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งอัตรานี้รัฐอาจปรับขึ้นหรือลดลงได้ตามสภาพเศรษฐกิจ
2. อัตราดอกเบี้ยผิดนัด ซึ่งเป็นเงินที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อผิดนัดหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา โดยถ้าคู่สัญญาไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญา ตามกฎหมายเก่าให้เรียกได้ร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ตามกฎหมายใหม่ให้เรียกได้เพียงร้อยละ 5 ต่อปี (ใช้อัตราดอกเบี้ยตามมาตรา 7 คือ ร้อยละ 3 ต่อปี บวกด้วยร้อยละ 2 ต่อปี)
3. ดอกเบี้ยผิดนัดกรณีที่ต้องชำระหนี้เป็นงวด เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือผิดนัดในงวดใด เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะต้นเงินในงวดนั้นเท่านั้น จะเรียกจากต้นเงินทั้งหมด หรือต้นเงินที่คงค้างชำระที่เหลือไม่ได้ เช่น กรณีที่เช่าซื้อของราคา 100,000 บาท กำหนดผ่อนชำระ 10 งวด งวดละ 10,000 บาท หากผู้เช่าซื้อผิดนัดในงวดที่ 5 ผู้ให้เช่าซื้อสามารถเรียกดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะในต้นเงินงวดที่ 5 คือ 10,000 บาทเท่านั้น จะเรียกจากต้นเงินทั้งหมด 100,000 บาท หรือต้นเงินที่ยังไม่ได้ชำระ 60,000 บาท ไม่ได้
ความเข้าใจผิด : สัญญาที่มีการกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดร้อยละ 15 ไม่สามารถใช้ได้ตามกฎหมายใหม่
ความจริง : สัญญานั้นมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่นั้นใช้เฉพาะกรณีที่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันเรื่องอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น
ความเข้าใจผิด : กฎหมายใหม่มีผลใช้กับทุกสัญญา แม้จะเป็นหนี้ที่ผิดนัดก่อนกฎหมายประกาศใช้
ความจริง : กฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับกับหนี้ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เท่านั้น หากเป็นหนี้ที่มีการผิดนัดก่อน 11 เมษายน 2564 ยังคังใช้อัตราตามกฎหมายเดิม คือ ร้อยละ 7.5 ต่อปี
ความเข้าใจผิด : ดอกเบี้ยเงินกู้จะคิดเกินร้อยละ 3 ไม่ได้ตามกฎหมายใหม่
ความจริง : ยังสามารถคิดได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ยกเว้นธนาคารหรือสถาบันการเงินที่อาจเรียกได้มากกว่านั้น
ความเช้าใจผิด : สามารถตกลงกันในสัญญาเพื่อให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยผิดนัดจากต้นเงินทั้งหมดได้แม้ในหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดและต้องผ่อนชำระเป็นงวด
ความจริง : กรณีนี้ไม่สามารถตกลงกันให้แตกต่างจากที่กฎหมายกำหนดได้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ เจ้าหนี้สามารถคิดดอกเบี้ยได้จากต้นเงินในงวดที่ผิดนัดเท่านั้น
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่