ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา การเสียชีวิตของดาราสาวมากความสามารถรายหนึ่งก่อให้เกิดประเด็นร้อนแรงทางสังคมอยู่หลายประเด็น ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและผู้เขียนเห็นว่าควรหยิบยกขึ้นมาเล่าเพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านคือ เรื่องของสิทธิในเงินประกันชีวิต
สัญญาประกันชีวิตนั้นเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย โดยที่ผู้รับประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ผู้ประกอบธุรกิจประกันชีวิตจะต้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนเท่านั้น และจะต้องได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยด้วย) ตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งที่กำหนดแน่นอนตามสัญญาเมื่อเกิดเหตุตามที่ระบุไว้ในสัญญา และผู้เอาประกันภัยตกลงที่จะส่งเบี้ยประกันให้แก่ผู้รับประกันภัย โดยการใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตนี้ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือการมรณะของบุคคลหนึ่งเป็นสำคัญ ซึ่งโดยปรกติเมื่อบุคคลตามสัญญาประกันชีวิตได้เสียชีวิตลงแล้ว ทางบริษัทประกันภัยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยก็ต้องใช้เงินตามสัญญา
เมื่อบุคคลที่ถูกระบุตามสัญญาประกันชีวิตได้เสียชีวิตลง ทางบริษัทประกันจะต้องชำระเงินตามสัญญาให้แก่ “ผู้รับผลประโยชน์” ที่ถูกระบุไว้ในสัญญาประกันชีวิต ซึ่งโดยปรกติการทำสัญญาประกันชีวิตจะมีการให้ระบุชื่อ “ผู้รับผลประโยชน์” ลงในสัญญาตั้งแต่เมื่อเข้าทำสัญญา โดยผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลร่วมสายโลหิตกับผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด ตามกฎหมายแล้วผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตจะเป็นผู้ใดก็ได้สุดแล้วแต่ผู้เอาประกันภัย โดยสัญญาประกันชีวิตนี้จัดเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกประเภทหนึ่ง ซึ่งสิทธิของบุคคลภายนอกหรือผู้รับผลประโยชน์นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้แสดงเจตนาเอาแก่ผู้รับประกัน
ในเบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า ทรัพย์มรดกคือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายซึ่งมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย แต่ในขณะที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่สิทธิในเงินประกันชีวิตย่อมยังไม่เกิดขึ้น เพราะเงินประกันชีวิตย่อมต้องอาศัยมรณะแห่งผู้ตาย ดังนั้น สิทธิในเงินประกันชีวิตจึงเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ตายได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงไม่อาจจัดเป็นทรัพย์มรดกได้ตามกฎหมาย และไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสินสมรสด้วย เพราะเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภริยาย่อมสิ้นสุดลงทันที เงินประกันชีวิตที่ได้มาในภายหลังย่อมไม่อาจจัดเป็นสินสมรสได้ด้วยเหตุผลเดียวกัน
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วเบื้องต้นว่าสัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้รับผลประโยชน์จะต้องแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญากับผู้รับประกันภัยเสียก่อน สิทธิตามสัญญาของผู้รับผลประโยชน์จึงจะเกิดมีขึ้น แต่หากผู้รับผลประโยชน์ยังมิได้แสดงเจตนาสิทธิของผู้รับผลประโยชน์ก็ยังไม่เกิด และหากผู้รับผลประโยชน์นั้นตายก่อนผู้เอาประกันชีวิต โดยยังมิได้แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ต่อผู้รับประกันแล้ว ทายาทของผู้รับผลประโยชน์ย่อมไม่มีสิทธิในเงินประกันนั้นแต่อย่างใด ในกรณีนี้เคยมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515 ได้วางแนวไว้ว่าเงินประกันชีวิตนั้นจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้เอาประกันชีวิตเสมือนทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 6 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง (เช่นเดียวกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2554) ซึ่งการจัดสรรเงินให้แก่ทายาทนี้สามารถใช้บังคับกับกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตมิได้ระบุตัวผู้รับผลประโยชน์เอาไว้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าสิทธิในเงินประกันชีวิตนั้นจะตกเอาแก่ “ผู้รับผลประโยชน์” ที่ระบุไว้ตามสัญญาก่อนเสมอ ซึ่งหากยังมีผู้รับผลประโยชน์อยู่เงินประกันชิวิตนี้จะไม่ตกแก่ทายาท เพราะเงินประกันชีวิตไม่ใช่ทรัพย์มรดก แต่กรณีที่ผู้รับผลประโยชน์ตายก่อนผู้เอาประกันชีวิต และยังไม่ได้แสดงเจตนาต่อบริษัทประกันภัยว่าจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญา หรือกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้ เงินประกันชีวิตนั้นจึงจะตกแก่ทายาทของผู้เอาประกันภัยในฐานะเสมือนทรัพย์มรดกอย่างหนึ่ง
อ่านบทความเพิ่มเติม คดีแพ่ง คลิก!
ติดต่อ ปรึกษาทนายคดีแพ่งหรือ จ้างทนายคดีแพ่ง คลิก!
ภาระจำยอม ไม่จดทะเบียนมีผลอย่างไร ภาระจำยอมที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบี
ผู้จัดการมรดกสามารถขายที่ดินได้ไหม #ก่อนจัดการมรดกต้องรู้ผู้จัดการมรดกสามารถขายท
คดีอุบัติเหตุ ดำเนินคดีอะไรได้บ้าง และผู้ฟ้องต้องพิสูจน์คดีอย่างไร หากเกิดอุบัติ
ถ้าฟ้องบังคับจำนองเกิน 10 ปี ผลเป็นอย่างไร ถ้าศาลพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าเจ้าหนี้ไม่